ตัวชี้วัดทางเทคนิค Stochastic Oscillator เปรียบเทียบราคาปิด ณ ปัจจุบันกับระดับราคาสำหรับช่วงเวลาใดๆ Indicator นี้ระบุโดยใช้สองเส้น เส้นหลักเรียกว่า %K เส้นรองซึ่งเรียกว่า %D เป็นเส้นค่าเฉลี่ยของเส้น %K เส้น %K มักระบุเป็นเส้นทึบ และเส้น %D มักแสดงเป็นเส้นจุดไข่ปลา
มีสามวิธีการที่นิยมใช้ในการตีความ Stochastic Oscillator
- Buy เมื่อ Oscillator (เส้น %K หรือเส้น %D) ลดลงต่ำกว่าระดับที่กำหนด (โดยทั่วไป 20) และปรับตัวขึ้นเหนือระดับดังกล่าว Sell เมื่อ Oscillator เพิ่มขึ้นสูงกว่าระดับที่กำหนด (โดยทั่วไป 80) และปรับตัวลงต่ำกว่าระดับดังกล่าว;
- Buy เมื่อเส้น %K อยู่เหนือเส้น %D Sell เมื่อเส้น %K อยู่ใต้เส้น %D;
- ตรวจสอบ divergences ตัวอย่างเช่น: ราคาสร้างจุดสูงสุดใหม่ และ Stochastic Oscillator ไม่สามารถผ่านจุดสูงสุดเดิมได้
การคำนวณ
Stochastic Oscillator มีสี่ตัวแปร:
- ระยะเวลา %K หมายถึง จำนวนระยะเวลาที่ใช้ในการคำนวณ stochastic;
- ระยะเวลาชะลอตัว %K (Slowing Period): ค่านี้เป็นตัวควบคุมการปรับเรียบภายใน (internal smoothing) สำหรับเส้น %K ค่า 1 หมายถึง fast stochastic; ค่า 3 หมายถึง slow stochastic;
- ระยะเวลา %D หมายถึง จำนวนระยะเวลาที่ใช้ในการคำนวณค่าเฉลี่ยของเส้น %K
- วิธีคำนวณ %D วิธีการ (i.e., Exponential, Simple, Smoothed, หรือ Weighted) ซึ่งใช้ในการคำนวณเส้น %D
สูตรที่ใช้ในการคำนวณเส้น %K คือ:
%K = (CLOSE-LOW(%K))/(HIGH(%K)-LOW(%K))*100
โดยที่:
CLOSE - หมายถึง ราคาปิดของวันนี้;
LOW(%K) - หมายถึง ราคาต่ำสุดในระยะเวลา %K;
HIGH(%K) - หมายถึง ราคาสูงสุดในระยะเวลา %K
เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ %D คำนวณตามสูตร:
%D = SMA(%K, N)
โดยที่:
N - หมายถึง ระยะเวลาในการปรับเรียบ (smoothing period);
SMA - หมายถึง ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบง่าย (Simple Moving Average)
The InstaForex Analyst Team
GK InstaFintech © 2007-2025